ภายหลังการเกิดขึ้นของระเบียบเศรษฐกิจ-การเงินโลกใหม่ซึ่งเป็นผลลัพท์จากการประชุมที่ Bretton Wood ก็ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของหลายๆประเทศฟื้นต้วกลับมาอีกครั้งโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ แต่ทว่าก็มีกลุ่มประเทศจำนวนหนึ่งกลับมีการพัฒนาที่ช้าหรือด้อยพัฒนา (underdevelopment) ซึ่งจะมีลักษณะที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นจะผูกติดกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมีพลวัต หากประเทศที่พัฒนามีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประเทศพึ่งพิงก็จะเติบโตตาม(แต่ในอัตราที่น้อยกว่า)
สถานการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ถ้าหากอิงตามระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ที่มีการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น
มีการองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ ช่วยเหลือในเงินทุนไปพัฒนาประเทศ
และถ้าหากประเทศผลิต สินค้าที่ตนเองมีความถนัดตามหลักการความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
(comparative advantage) สินค้าเหล่านั้นก็น่าจะขายได้มากนำเงินเข้าสู่ประเทศได้มาก
และเพื่อที่จะสามารถอธิบายความเป็นไปของ ความด้อยพัฒนาที่เกิดขึ้นจึงได้มีการศึกษา
และกำเนิดทฤษฎีพึ่งพิงขึ้น
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้มีนักทฤษฎีแต่ละสาขามาให้คำอธิบาย
โดยส่วนใหญ่จะมีคำอธิบายที่คล้ายคลึงกัน คือ
ปัญหาเกิดมาจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของตัวรัฐบาล
ไม่ใช่ความผิดของตลาด ในขณะที่ทฤษฎีการพึ่งพิงนี้
จะอธิบายว่าความด้อยพัฒนาเกิดมาจากการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลก (global
capitalism) และการเกิดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ที่ทำให้เกิดการแบ่งรัฐออกเป็น
2 กลุ่ม ได้แก่
ประเทศที่อยู่ศูนย์กลาง (center) และประเทศที่อยู่ชายขอบ (periphery)
ประเทศที่อยู่ในชายขอบส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าปฐมภูมิหรือสินค้าเกษตรซึ่งมีมูลค่าที่ต่ำ(แต่มีความถนัด)ในขณะที่ประเทศศูนย์กลางส่วนมากจะผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มาจากการแปรรูปสินค้าปฐมภูมิ
และเน้นการลงทุนในประเทศชายขอบที่ตนเองมีความถนัดและมีมูลค่าสูง ทำให้ประเทศที่อยู่ในชายขอบ
ต้องนำเข้าสินค้าที่แพง เกิดการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลต่อการเจริญเติบโตเศรษฐกิจที่ช้า และเกิดช่องว่างระหว่างประเทศศูนย์กลางและชายขอบมากยิ่งขึ้น
นี่เป็นการชี้จุดบอดของหลักการ ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ comparative
advantage ที่ไม่สามารถอธิบายความด้อยพัฒนาที่เกิดขึ้นใน พื้นที่ต่างๆได้
มากไปกว่านั้นกลไกทางเศรษฐกิจระดับโลกที่เกิดขึ้นภายหลักจากการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ได้แก่
IMF IBRD หรือ
GATT ก็ดูเหมือนว่าจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่จริงแล้วกลไกดังกล่าวเป็นเพียง
เครื่องมือของมหาอำนาจที่ใช้ในการขยายอิทธิพลของลัทธิเศรษฐกิจทุนนิยมโลกที่นักทฤษฎีพึ่งพิงมาองว่า
เป็นการล่าอาณานิคมครั้งใหม่ของมหาอำนาจใหม่ (new
imperialism)
ภายหลังที่ทฤษฎีพึ่งพิงได้เกิดขึ้นและได้รับความนิยมในทศวรรษ
1960 ก็มีนักวิชาการจำนวนมากได้เสนอ
แนวทางที่จะหลุดออกจากกับดักของลัทธิทุนนิยมโลกโดยสามารถสรุปได้ดังนี้
- ส่งเสริมให้มีการลงทุนในการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า
- ตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าให้อยู่ในระดับสูง
- ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของประเทศที่อยู่ในชายขอบหรือประเทศด้อยพัฒนา
แต่อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวก็ดูเหมือนจะพบกับอุปสรรคในการดำเนินการอย่างมาก
อย่างเช่น การส่งเสริมให้มีการลงทุนในการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า
ในความเป็นจริงอาจจะพบว่าตลาดภายใน ของประเทศชายขอบไม่ได้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำอุตสาหกรรม
ในขณะที่การตั้งกำแพง ภาษีที่สูงต่อสินค้านำเข้าก็อาจจะทำให้ประเทศศูนย์กลางมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อกดดันบรรดาประเทศที่
พึ่งพิงให้ยกเลิกดำเนินนโยบาย
และการรวมกลุ่มของประเทศที่อยู่ในชายขอบก็ไม่ได้รับประกันว่าจะมีอำนาจ
มากเพียงพอที่จะมาต่อรองกับประเทศที่อยู่ในศูนย์กลาง
แม้ว่าทฤษฎีพึ่งพิง
(dependency theory) จะสามารถอธิบายความด้อยพัฒนาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของโลก แต่ทว่าก็มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นทฤษฎีที่ไม่มีการวิจัยที่เป็นระบบ
เป็นเพียงแค่โวหารที่เน้นการกล่าวหาทางการเมือง (political
blame) โดยโยนความผิดไปที่ประเทศที่พัฒนา
หรือประเทศที่ตนเองอ้างว่าอยู่ศูนย์กลางทั้งหมด
โดยไม่ได้ย้อนกลับมามองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นก็มีสาเหตุ
มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลประเทศชายขอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
http://environmentalgeography.files.wordpress.com/2012/04/340px-dependency_theory-svg.png
ขอถามเจ้าของกระทู้หน่อยครับ คุณคิดว่าจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะหลุดพ้นจากทฤษฎีการพึ่งพิง
ตอบลบเป็นไปไม่ได้ครับ..การค้าขายระหว่างประเทศจะขาดการพึ่งพิงไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศย่อมที่จะมีข้อเสนอให้กันและกันเมื่อมีการพบปะเจรจาซื้อขายกัน เพราะฉะนั้นหลักการพึ่งพิงจึงจำเป็นที่สุดที่จะทำให้แต่ละประเทศมีโอกาศนำเสนอผลผลิตภายในประเทศของตนเองครับ
ตอบลบเป็นไปไม่ได้ครับ..การค้าขายระหว่างประเทศจะขาดการพึ่งพิงไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศย่อมที่จะมีข้อเสนอให้กันและกันเมื่อมีการพบปะเจรจาซื้อขายกัน เพราะฉะนั้นหลักการพึ่งพิงจึงจำเป็นที่สุดที่จะทำให้แต่ละประเทศมีโอกาศนำเสนอผลผลิตภายในประเทศของตนเองครับ
ตอบลบLet me tell you something...
ตอบลบThis may sound kind of weird, maybe even a little "out there..."
WHAT if you could simply press "PLAY" to listen to a short, "magical tone"...
And suddenly attract MORE MONEY to your LIFE??
And I'm talking about BIG MONEY, even MILLIONS of DOLLARS!!!
Think it's too EASY?? Think it couldn't possibly be REAL??
Well then, Let me tell you the news.
Usually the largest blessings in life are the EASIEST!!!
Honestly, I will PROVE it to you by allowing you to listen to a REAL "miracle money-magnet tone" I've synthesized...
YOU simply click "PLAY" and watch as your abundance angels fly into your life.. starting pretty much right away..
CLICK here now to PLAY this magical "Miracle Abundance Tone" as my gift to you!!!